พืชสมุนไพรต่างชาติ
บทนำ
เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจหากจะกล่าวว่า
พืชสมุนไพร มีขึ้นอยู่ทั่วไปบนพื้นภิภพนี้ ไม่ว่าประเทศเขตแดนไหน ผู้เขียนมีความเห็นว่า พืชสมุนไพร เป็นทรัพยกรของมวลมนุษยาชาติทั่วโลกไม่ควรจำกัดหรือว่าตีกรอบว่าเป็นของชนชาติหนึ่งหรือประเทศใดโดยลำพัง
จริงอยู่ที่ว่าหากมีพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดจากที่หนึ่งที่ใดหรือว่ามันสามารถเติบโตได้เฉพาะพื้นที่ของประเทศนั้นๆ
ก็ควรจะเป็นสิทธิของประเทศนั้นที่จะหวงแหนปกป้อง สงวนพันธ์พืชหรือข้อมูลหรืออะไรๆก็ตามที่เกี่ยวข้องโดยอ้างถือว่าเป็นทรัพยากรของดังเดิมบ้าง
เป็นภูมิปัญญาพื้นเมืองบรรพบุรุษบ้างซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแผกชั่วร้าย แต่นั้นเป็นทัศนคติของชนในอดีตที่ตกทอดมาปัจจุบัน
หากเราพิจารณาดู จากตัวอย่างเหล่านี้ซิ
ต้นยางพารา สัปประรด องุ่นและพืชอีกหลายชนิดที่ตอนนี้สามารถปลูกขึ้นในประเทศไทย
เดิมพืชเหล่านั้นที่มีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใดละ พืชสมุนไพรก็เช่นกัน และก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่พืชสมุนไพรของไทยจะถูกศึกษาค้นคว้าวิจัย
ทดลอง หาข้อมูลที่เกี่ยวพันธุ์เพื่อจะก่อเกิดประโยชน์ในทางแพทย์เภสัชกรรมที่ยิ่งๆขึ้นไป
นักวิทยาศาสตร์จากประเทศที่เจริญแล้วถึงพร้อมด้วยเครื่องไม้เครื่องมือเทคโนโลยี่ต่างก็ค้นคว้าศึกษาวิจัยพืชสมุนไพรที่มีขึ้นในประเทสต่างๆทั่วโลก ไม่เฉพาะทีมีอยู่ในไทยเท่านั้น
สมุนไพรต่างชาติประเทศอื่นถูกจัดเข้าเภสัขตำรับของยุโรปอเมริกาและชาติที่เจริญมานานล้วและก็มีพืชหลายชนิดหลายตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นถูกสกัดตัวยาสารออกฤทธิ์สำคัญมาทำยาแผนปัจจุบันใช้กันไม่ก็ศึกษาโครงสร้างโมเลกุลแล้วสังเคราะห์ขึ้นเลียนแบบผลิตในเชิงอุตสาหกรรม
ด้วยเหตุผลนี้ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนให้เราทั้งหลายให้ความสนใจศึกษาทำความรู้จักกับพืชสมุนไพรต่างชิบ้าง
แม้ว่าโดยธรรมชาติพืชเหล่านั้นไม่สามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ในประเทศไทย
แต่เราเองก็มีความเชี่ยวชาญทางเกษตรกรรมและในอนาคตการเจริญรุดหน้าทางวิทยาศาสตร์อาจแก้ปัญหานั้นได้
เรื่องที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้
ขอเสนอเป็นตอนๆเป็นเรื่องของพืชสมุนไพร แต่ละต้นแต่ละชนิด ตอนละต้นที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอื่น เนื้อเรื่องส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือ “CULPEPER’S COMPLETE HERBAL”ที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่17แต่ตีพิมพ์
ราวต้นศตวรรษที่20 แต่ไม่ทั้งหมดจะสอดแทรกข้อมูลจากแหล่งอื่นด้วย
ฉนั้นจึงเหมือนกับการนำเสนอตำรายาไทยโบราณที่ขอทำความตกลงกับผู้อ่านไว้ก่อนว่าพึ่งใช้วิจารณญาณในการเชื่อและนำไปใช้กับตัวเองหรือผู้อื่น
(หากได้มีโอกาศพบและนำมาได้)
บางอย่างอาจไม่เกิดผลในการรักษาและยังอาจเกิดผลร้ายต่อผู้ใช้ด้วย อีกทั้งผู้เขียนขอรับสารภาพว่าไม่เคยได้พบเห็นหรือได้เพาะปลูกพืชสมุนไพรต่างชาติที่เขียนนี้มาก่อน
จึงเป็นการเขียนแปลจากตำรับตำราเท่านั้น(อาจมีเพียงบางต้นเท่านั้นที่ได้จับต้องหรือลงปลูกเอง)
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ออล-เฮล All-Heal
ภาพจากhttp://www.jr-harrison.com/drive-byforestpark2.htm
ชื่อทางวิทยาศาสตร์หรือชื่อทางพฤษสาสตร์
คือ Prunella
Vulgaris L.
มีชื่อที่เรียกขานกันหลายชื่อ
หมอยาแห่งอังกฤษยุคศตวรรษที่17ชื่อคาลปีเป้อร์(Culpeper) เช่น
ออล-ฮีล (All-Heal) ตำรายาอื่นจะเรียกกลับกันเป็น
ฮีล-ออล(Heal All) ,เฮอร์คิวลิส-ออลเฮลและ
เฮอร์คิววาวด์เวอร์ท (Hercules
s’ wound-wort)เหตุผลเพราะว่า
ผู้ทรงพลังเรียนรู้จักพืชสมุนไพรชนิดนี้และสรรพคุณอันวิเศษของมันจากเทพเจ้ากรีกที่ชื่อ
Chiron มีชื่อจีนว่า
Xia ku cau แปลว่า
“Herb
withered after summer”
ไม้อับเฉาหลังฤดูร้อน
ลักษณะต้น ตามคำบรรยายของ คาลปีเป้อร์(Culpeper) เขียนไว้อย่างละเอียดว่า
รากจะยาวหนา และมีน้ำมาก อ้อนบวมเด็มไปด้วยน้ำ มีรสเผ็ดร้อน ใบกว้างใหญ่และมีปีกแผ่ออกเป็นปีก
ใบอาจมีขนขึ้นใบใหญ่เป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบ ๕-๖ ใบออกตรงข้าม ก้นใบกว้างแล้วเรียวแหลมปลายมีสีสดแกมเหลืองจะมีปลายสุดก้นใบหนึ่งลึกกว่าใบอื่นๆ
ใบมีรสขมเมื่อเคี้ยวในปาก ลำต้นตั้งตรงมีสีเขียวกลมใหญ่แข็งแรง สูง๕-๖ฟุตแตกกิ่งก้านสาขาออกกลุ่มออกเป็นรูปร่มอยู่ที่ยอดของต้นสีเหลือง
เวลาผ่านไปดอกจะกลายเป็นเมล็ดแบนสั้นๆ สีเหลือง-ขาวมีรสขม
ภูมิประเทศที่พบพื้นชนิดนี้ มีขึ้นตามสวนไร่ผัก ทั่วๆไปเวลาเจริญแพร่พันธ์ ผู้รู้บางท่านกล่าวว่ามันจะออกดอกตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงสิ้นเดือนธันวาคมแต่บางท่านให้เก็บดอกตอนหลังสิ้นฤดูร้อนและเก็บในที่ร่มจนเมล็ดมันปรากฏสรรพคุณและการควมคุมโรค พืชสมุนไพรชนิดนี้อยู่ใต้อธิพลดาวอังคาร ร้อนแสบเผ็ดร้อนฉุนเฉียวเจ้าอารมณ์โกรษง่ายและจะรักษาแก้ไข้อะไรก็ตามที่ปีศาจดาวอังคารกระทำลงโทษต่อร่างกายมนุษย์ดุจงูพิษและแร่แม่เหล็ก มันสามารถม่าพยาธิ รักษาบำบัดโรคเกาส์ ตระคริวและคลื่นไส้อาเจียน ช่วยให้ปัสสาวะง่ายบรรเทาโรคปวดข้อบรรเทาอาการปวดศรีษะ เจ็บปวด มีนศรีษะ แก้อาการเฉี่อย ชา เมินเฉย และอาการติดขัดท่อน้ำดี ตับ ม้าม นิ่วในไตและกระเพาะปัสสสาวะ มันขับไล่ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเส้นเอ็น กำลัง อาการคัน ปวดฟัน สุนัขบ้ากัด สัตว์มีพิษกัดต่อย มันสามารถถ่ายน้ำดีอย่างอ่อนๆ เป็นยาะบายน้ำดีอย่างอ่อนๆ
ภาพวาดจากDesk Reference to Nature’s Medicine by Steven Foster and Rebecca L .Johnson
คราวนี้ลองดูคำบรรยายจากตำราอื่นบ้าง ลักษณะของต้น เป็นไม้ล้มลุกต้นเตี้ย มีหัวใต้ดินแพร่ขยาย
ลำต้นสี่เหลื่ยมเออกสีแดงนิดๆแทงขึ้นมา ใบรูปไข่เล็ก ดอกออกเป็นดอกกลุ่มรวม สีม่วงฟ้า
เป็นที่ชื่นชอบของแมลงผึ่ง ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในยุโรป,เอเซีย,แอฟริกาและอเมริกาเหนือเนื่องจากชาวอาณานิคมจากยุโรปได้นำไปเพาะปลูกในทวีปอเมริกาจึงกลายสภาพเป็นพืชพื้นมืองที่นั้นในเวลาต่อมา
ลักษณะภูมิประเทศที่ขึ้น ตามแถบตลิ่งที่ถูกแดด ทุ่งหญ้าแห้ง ป่าเปิด พื้นที่ถูกทิ้งรก
มีประวัติการใช้สมุนไพรพืชนี้มานานแล้ว ในจีนได้จดบันทึกลงตำราเมื่อประมาณ
2000ปีมาแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206BC-A.D.23)หมอยาชาวจีนใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคตับ
ยาขับปัสสาวะแก้ไตมีปัญหา ในยุโรปใบทำเป็นยาชง(ชาชง)อมป้วนปากรักษาอาการเจ็บคอ ติดเชื้อในลำคอ
ดืมเพื่อรักษาแผลภายใน(ร่างกาย) ช่วยลดไข้ แก้ท้องเสีย เชื่อว่าขับพยาธิ์ในลำไส้ด้วย
ผลการวิจัย (อ้างถึง.2) พบสารประกอบหลักคือ แทนนิน tannins,สารรสขมbitter compound,น้ำมันหอมระเหย essential oil,ซาโปนินsaponins,และไกโคไซด์ glycoside ที่เรียกว่าaucubin สารเหล่านี้ทำให้พืชมีคุณสมบัติเป็นยาสมานแผล
ต่อต้านการอักเสบ ยาต้านเชื้อจุลชืพ และทำให้เลือดแข็งแรง
การวิจัยของจีนยังสนับสนุนคุณค่าของมันว่าเป็นยาปฎิชีวนะที่มีประสิทธิภาพขนาดกลางและอาจใช้เป็นยาลดความดันเลือด มีการศึกษาอื่นที่ระบุว่าพืชนี้มีกรดursolic มีฤทธิ์ขับปัสสาวะและต้านเนื้อร้ายได้
การวิจัยของจีนยังสนับสนุนคุณค่าของมันว่าเป็นยาปฎิชีวนะที่มีประสิทธิภาพขนาดกลางและอาจใช้เป็นยาลดความดันเลือด มีการศึกษาอื่นที่ระบุว่าพืชนี้มีกรดursolic มีฤทธิ์ขับปัสสาวะและต้านเนื้อร้ายได้
เอกสารอ้างอิง1 CULPEPER'S COMPLETE HERBAL
เอกสารอ้างอิง 2 Desk Reference to Nature’s Medicine by Steven Foster and Rebecca L .Johnson
เอกสารอ้างอิง 3 The Natural Pharmacy by
Miriam Polunin &Christopher Robbins
เอกสารอ้างอิง 2 Desk Reference to Nature’s Medicine by Steven Foster and Rebecca L .Johnson
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น